วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561


ตัวอย่างการเขียนเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์

1.              ชื่อโครงงาน  ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเศษพืชผักที่เหลือใช้จากการประกอบอาหาร
2.              ผู้จัดทำโครงงาน  1. เด็กหญิงณัฐวดี  บัวทอง
2. เด็กหญิงอัญชลี  กันขาว
3. เด็กหญิงสุรีรัตน์  แก้วหนู
      3.   อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์  สงบ  ดุษฎีธัญกุล 
                                               
      4.   ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                   เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้ในการเพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยเคมี ทำให้ดินเสื่อมสภาพ และยังทำให้เกิดสารตกค้างมีผลกระทบต่อผู้บริโภค อาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าสามารถใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติก็จะเป็นการดี แนวคิดที่จะใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น เศษผักที่เหลือจากการบริโภค มาทำปุ๋ยน้ำน่าจะเป็นทางออกที่ดี
      5.   จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.             เพื่อศึกษาการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหมักชีวภาพจากเศษพืชผักที่เหลือใช้จากการบริโภค
2.             เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพกับปุ๋ยเคมี
3.             เพื่อลดต้นทุนในการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม
      6.   สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า
                   ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากเศษพืชผักสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตต้นถั่วได้ดี
      7.   วิธีดำเนินงาน
                   วัสดุ/อุปกรณ์ และสารเคมี
1.             ภาชนะมีฝาปิด ขนาด 30 – 50 ลิตร                        1   ใบ
2.             เมล็ดถั่วฝักยาว                                                      1    กระป๋อง
3.             เศษผักที่เหลือใช้จากการประกอบอาหาร              1    ถังขนาด 20 ลิตร
4.             ใบสะเดา                                                                ½   ถังขนาด 20 ลิตร
5.             ดินปลูก ขนาด 10 Kg.                                            9    กระสอบ
6.             น้ำ                                                                          20  ลิตร
7.             กระบอกตวงขนาด 100 มล.                                    1    กระบอก
8.             สายวัด                                                                    1    เส้น
9.             เครื่องวัดค่า  pH                                                      1    อัน
10.      ไม้ค้างความยาวประมาณ 2.5 - 3 เมตร                      30   อัน
11.       มุ้งไนลอน (มุ้งโอรีน) ขนาด 1 x 3 เมตร                    1     ผืน
12.       เครื่องชั่งน้ำหนัก ชนิด 10 กิโลกรัม                           1     เครื่อง
                   สารเคมี
1. กากน้ำตาล                                                                        ลิตร
2. จุลินทรีย์ E.M. ขนาด 1 ลิตร                                            1    แกลอน
3. ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 21-21-21                                             500 กรัม
                   วิธีทดลอง
                   ตอนที่ 1 ศึกษาการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
1. นำเศษผักทุกชนิด และใบสะเดา มาผสมกันในถังที่เตรียมไว้
2. นำกากน้ำตาล  และจุลินทรีย์ มาเทลงในถัง
3. เทน้ำลงในถังและคลุกเคล้าเศษผักในถังให้เข้ากันกับจุลินทรีย์และกากน้ำตาล
4. หลังจากคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหลังจากนั้นปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าทิ้งไว้ประมาณ  3  เดือน
5. หลังจากหมักไปแล้ว เดือน แล้วค่อยเปิดฝาออกนำไม้มาคนให้เศษผักที่อยู่ด้านบนให้ไปอยู่ด้านล่างของถังหลังจากนั้นปิดฝาให้สนิทและทิ้งไว้อีก  2  เดือน
6. หลังจากเดือนแล้วเปิดฝาถัง ถ้าเห็นราสีขาวขึ้นมาข้างบนของน้ำหมัก และมีกลิ่นของการหมัก สามารถนำน้ำหมักมาใช้ได้โดยการกรองเอาแต่น้ำ และเศษผักที่เหลือสามารถนำไปหมักต่อได้ ส่วนน้ำหมักนำมาผสมกับน้ำใช้ฉีดหรือรดพืชผักสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
                   ตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
1.        เตรียมแปลงดินสำหรับปลูกถั่ว จำนวน 3 แปลง ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร โดยการ ยกร่องผสมดินปลูก แปลงละ 3 กระสอบ
2.        วัด ค่า pH ของดินก่อนที่จะทดลองปลูกถั่ว และบันทึกไว้
3.        เพาะต้นถั่วฝักยาวโดยการหยอดลงในหลุม หลุมละ 3 เมล็ด แปลง ๆ ละ 10 หลุม หลังจาก 2 สัปดาห์ คัดเลือกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
4.        รดน้ำเปล่าทุกแปลง วันละ 1 ครั้งตอนเช้า ไม่ควรแฉะเกินไป เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไปควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสม
5.        แปลงที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี แปลงที่ 2 รดปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ แปลงที่ 3 รดน้ำเปล่าในปริมาณที่เท่า ๆ กัน
6.        การใส่ปุ๋ย และรดปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ทุก ๆ 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง โดยแปลงที่ 2 รดปุ๋ยน้ำหมักและ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพด้วย คือ ผสมน้ำ 1:100-400 ใช้รดราดโคนต้นและ ผสมน้ำ 1:200-1000 ฉีดพ่นลำต้นและใบ
7.        บันทึกผลการเจริญเติบโตของถั่ว โดยวัดความสูงของลำต้นทุก 7 วัน ใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา 
8.        สัปดาห์ที่ 5 – 8 วัด ค่า pH ของดินเพื่อเปรียบเทียบ พร้อมสังเกตการณ์กัดกินของแมลง สัปดาห์ ละ 2 ครั้ง
9.         ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และเก็บผลผลิตมาชั่งน้ำหนักรวมเพื่อเปรียบเทียบ
8.   แผนปฏิบัติงาน
      วัน   เดือน   ปี
การปฏิบัติงาน
20     พฤศจิกายน 2550  -  15  ธันวาคม  2550
16  ธันวาคม 2550      -   31  มกราคม  2551
1  กุมภาพันธ์ 2551     -   20   กุมภาพันธ์ 2551
ศึกษาค้นคว้า  รวมรวมข้อมูล เตรียมอุปกรณ์
ดำเนินการทดลองตามขั้นตอนวิธีดำเนินงาน
สรุปผลและเขียนรายงาน
9.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.             ได้ปุ๋ยน้ำที่ทำจากเศษผักที่เหลือใช้จากการประกอบอาหาร
2.             เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
10.   เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ,สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. แบบฝึกกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์ ว 017 โครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร:        คุรุสภาลาดพร้าว, 2533.
      รุจิรา  ปรีชาจารย์  และคณะ. สารสกัดวัชพืชควบคุมวัชพืช. นครสวรรค์ : โรงเรียนสตรีนครสวรรค์,
                                2538.
      ยงยุทธ  โอสถสภา . หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,          
                                ...